O14-แนวทางปฏิบัติในการใช้ดุลพินิจไม่รับคำร้องทุกข์ในคดีอาญา

กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่รับคำร้องทุกข์ หรือไม่รับแจ้งความ

 พนักงานสอบสวนเห็นว่าการกระทำไม่เข้าองค์ประกอบความผิด หรือไม่เป็นความผิดอาญาเช่นคดีเช็ค หรือคดีอาญาอื่นที่ไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอ ที่จะดำเนินคดีกับผู้ต้องหา การกระทำความผิดไม่อยู่ในเขตอำนาจสอบสวน

         มาตรา 18 กำหนดเขตอำนาจสอบสวนเป็นหลักทั่วไป ว่าในจังหวัดอื่นนอกจากพนักงานงานฝ่ายแกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอำเภอ และ ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรี หรือเทียบเท่า นายร้อยตำรวจตรีขึ้นไปมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญา ซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่า ได้เกิดภายในเบจอำนาจสอบสวนสวนของตน ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในมาตรา 19 มาตรา 20 และมาตรา 21 ความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำนาจพนักงานสอบสวนคนใด โดยปกติให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนนั้นเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนความปิดนั้นๆ เพื่อดำเนินคดี เว้นแต่เมื่อมีเหตุจำเป็น หรือเพื่อความสะดวก จึงให้งานสอบสวนแหางท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับกุมเป็นผู็รับผิดชอบดำเนินการสอบสวนในเขตท้องที่ใดมีพนักงานสอบสวนหลายคนดำเนินการสอบสวนให้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนผู้เป็นหัวหน้า ในท้องที่นั้นหรือผู้รักษาการแทน

        คดีขาดอายุความ เช่นในคดีความผิด พรบ.เช็ค คดีฉ้อโกง คดียักยอก ซึ่งเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวที่กฎหมายกำหนดที่ต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน เจ้าหน้าที่ละเว้นการปฎิบบัติหน้าที่ หรือใช้ดุลพินิจไม่ถูกต้อง แนวทางแก้ไขเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่รับแจ้งความร้องทุกข์ ต้องดำเนินการว่าจ้างทนายความเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ทนายเป็นผู้ร้องทุกข์ตามกฎหมายแทนท่านต่อไป